สถาบันบริการสารสนเทศ
จากความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิชาการและเทคโนโลยี ทำให้มีการผลิตสารสนเทศออกมาเผยแพร่อย่างมากและรวดเร็ว การที่สังคมมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นทำให้มนุษย์มีความต้องการสารสนเทศมากขึ้นเป็นทวีคูณเช่นเดียวกัน และเนื่องจากมนุษย์แต่ละคน ไม่อาจรวบรวมหรือจัดเก็บสารสนเทศทุกชิ้นที่ผลิตขึ้นมาได้ทั้งหมด แต่ทว่ายังมีความต้องการในการใช้ ดังนั้น จำเป็นต้องมีผู้ที่ทำหน้าที่จัดหา รวบรวม จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศกับมนุษย์แต่ละคน เพื่อสนองความต้องการด้านการใช้สารสนเทศ จึงทำให้เกิดสถาบันบริการสารสนเทศขึ้น
สถาบันบริการสารสนเทศ มีวัตถุประสงค์หลัก คือ ให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้ แต่เนื่องจากวิวัฒนาการของสังคม การพัฒนาของศาสตร์ต่างๆ ความแตกต่างของสารสนเทศ ผู้ใช้ และความต้องการของผู้ใช้ จึงเกิดสถาบันบริการสารสนเทศหลากหลายรูปแบบ เช่น ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ ศูนย์ข้อมูล ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ หน่วยงานจดหมายเหตุ สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ เป็นต้น ซึ่งสถาบันบริการสารสนเทศรูปแบบต่างๆ นี้ มีวัตถุประสงค์หลักเหมือนกัน แต่จะมีหน้าที่แตกต่างกันอยู่บ้างในด้านสาขาวิชาที่ให้บริการ ประเภททรัพยากรสารสนเทศ และประเภทของการให้บริการ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับประเภทของผู้ใช้บริการ โดยจะกล่าวถึงรายละเอียดของสถาบันบริการสารสนเทศที่สำคัญๆ พอสังเขป ดังนี้
ห้องสมุด
ศูนย์สารสนเทศ
ศูนย์ข้อมูล
ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ
ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ
หน่วยงานจดหมายเหตุ
สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์
ห้องสมุด
ห้องสมุด (library) มาจากศัพท์ภาษาละตินว่า libraria แปลว่าที่เก็บหนังสือ และคำว่า libraria มาจากรากศัพท์ว่า liber แปลว่า หนังสือ เพราะในอดีตทำหน้าที่อนุรักษ์ สะสมความรู้ที่อยู่ในรูปหนังสือ เป็นสถาบันบริการสารสนเทศรูปแบบดั้งเดิม ในภาษาไทยใช้คำว่า "ห้องสมุด" ซึ่งมีความหมายว่า
ห้อง ใช้ระบุสถานที่ทั้งที่เป็นอาคารเอกเทศ ส่วนหนึ่งของอาคาร หรือห้องห้องเดียว ปัจจุบันถ้าเป็นอาคารเอกเทศ จะใช้คำว่า "หอ" หมายถึง เรือนที่ใช้เฉพาะกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง
สมุด ใช้ในความหมายของหนังสือ เนื่องจากสมัยก่อนที่จะมีการพิมพ์ หนังสือของไทย มีลักษณะเป็นสมุดข่อยพับไปมา เขียนตัวหนังสือเต็มเล่ม เรียกว่า หนึ่งเล่มสมุด
ห้องสมุด ในปัจจุบันหมายถึง แหล่งสะสม และให้บริการสารสนเทศทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ ไม่ตีพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการคัดเลือก จัดหา เข้ามา ให้สอดคล้องกับความต้องการ และความสนใจของผู้ใช้ โดยมีบรรณารักษ์หรือบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญ เป็นผู้บริหารและดำเนินงานเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้อย่างมีระบบ
จากประเภทของห้องสมุด หรือสถาบันบริการสารสนเทศ ที่ผู้ใช้คุ้นเคยดังกล่าว ซึ่งให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ในรูปแบบสิ่งพิมพ์เป็นส่วนใหญ่ ต่อมาเมื่อมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ ในงานห้องสมุด เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติงานและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเกิดระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (automated library system) ในปัจจุบันจะได้ยินคำว่า ห้องสมุดเสมือน (virtual library) ห้องสมุดดิจิทัล (digital library) ซึ่งเกิดจากการนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการบันทึกสารสนเทศมากขึ้น และมีการจัดเก็บสารสนเทศ ไว้ในรูปของสัญญาณดิจิทัล และเมื่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ และระบบโทรคมนาคมมีมากขึ้น จึงเกิดการพัฒนาศักยภาพ ของการบริการสารสนเทศในลักษณะห้องสมุดดิจิทัล ซึ่งมีสาเหตุจาก ความต้องการเผยแพร่ทรัพยากรสารสนเทศออกไป ให้กว้างขวางและทั่วถึง เกินกว่าจำนวนทรัพยากรสารสนเทศ ที่มีอยู่จริง เพื่อแก้ปัญหา ด้านการขาดแคลนทรัพยากรสารสนเทศ หรือในกรณีที่มีผู้ต้องการใช้ทรัพยากร
สารสนเทศ ที่มีอยู่ที่ใดที่หนึ่งเพียงแห่งเดียว หรือมีใช้อยู่ในวงจำกัดพร้อมกันหลายคน หรือบางแห่งมีทรัพยากรสารสนเทศอยู่ แต่ไม่มีผู้ใช้บริการ ในขณะที่ เป็นความต้องการของผู้ใช้ที่อื่น รวมทั้ง การแก้ปัญหาด้านสถานที่จัดเก็บ ที่มีขนาดไม่สมดุลย์กับปริมาณการเพิ่มขึ้น ของทรัพยากรสารสนเทศ
ศูนย์สารสนเทศ
จากความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการต่างๆ ที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผลการค้นคว้าวิจัย การค้นพบหลักการ ทฤษฎี และความรู้ใหม่ๆ ทำให้นักวิชาการมีความตื่นตัว มีการผลิตสารสนเทศออกมามากทำให้เกิดภาวะสารสนเทศท่วมท้น ขณะเดียวกัน ความต้องการในการใช้สารสนเทศของผู้ใช้เปลี่ยนไป คือ มีความต้องการสารสนเทศที่มีขอบเขตกว้างขวาง และมีเนื้อหาเฉพาะเจาะจง ทันสมัย ถูกต้อง รวดเร็ว ซึ่งห้องสมุดไม่สามารถสนองความต้องการได้ จึงมีการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้น
ศูนย์สารสนเทศ (Information center) หมายถึง หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขา หรือเฉพาะเรื่อง ศูนย์สารสนเทศจะรวมหน้าที่ของห้องสมุดเฉพาะ และขยายบทบาทรวมถึงหน้าที่ใกล้เคียง เช่น การเขียนรายงานวิชาการ การทำสาระสังเขป บริการคัดเลือกและเผยแพร่สารสนเทศ และบริการค้นคว้าจากเอกสารให้แก่ผู้ใช้บริการ
คำว่าศูนย์สารสนเทศ อาจใช้คำว่า ศูนย์บริการเอกสาร (documentation center) แทนได้ เนื่องจากมีภาระหน้าที่และลักษณะการปฏิบัติงานเหมือนกัน แต่มีข้อแตกต่าง คือ ศูนย์บริการเอกสารเน้นวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับเอกสาร ขณะที่ศูนย์สารสนเทศ เน้นการนำไปให้บริการกับผู้ใช้
ห้องสมุด (library) มาจากศัพท์ภาษาละตินว่า libraria แปลว่าที่เก็บหนังสือ และคำว่า libraria มาจากรากศัพท์ว่า liber แปลว่า หนังสือ เพราะในอดีตทำหน้าที่อนุรักษ์ สะสมความรู้ที่อยู่ในรูปหนังสือ เป็นสถาบันบริการสารสนเทศรูปแบบดั้งเดิม ในภาษาไทยใช้คำว่า "ห้องสมุด" ซึ่งมีความหมายว่า
ห้อง ใช้ระบุสถานที่ทั้งที่เป็นอาคารเอกเทศ ส่วนหนึ่งของอาคาร หรือห้องห้องเดียว ปัจจุบันถ้าเป็นอาคารเอกเทศ จะใช้คำว่า "หอ" หมายถึง เรือนที่ใช้เฉพาะกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง
สมุด ใช้ในความหมายของหนังสือ เนื่องจากสมัยก่อนที่จะมีการพิมพ์ หนังสือของไทย มีลักษณะเป็นสมุดข่อยพับไปมา เขียนตัวหนังสือเต็มเล่ม เรียกว่า หนึ่งเล่มสมุด
ห้องสมุด ในปัจจุบันหมายถึง แหล่งสะสม และให้บริการสารสนเทศทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ ไม่ตีพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการคัดเลือก จัดหา เข้ามา ให้สอดคล้องกับความต้องการ และความสนใจของผู้ใช้ โดยมีบรรณารักษ์หรือบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญ เป็นผู้บริหารและดำเนินงานเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้อย่างมีระบบ
จากประเภทของห้องสมุด หรือสถาบันบริการสารสนเทศ ที่ผู้ใช้คุ้นเคยดังกล่าว ซึ่งให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ในรูปแบบสิ่งพิมพ์เป็นส่วนใหญ่ ต่อมาเมื่อมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ ในงานห้องสมุด เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติงานและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเกิดระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (automated library system) ในปัจจุบันจะได้ยินคำว่า ห้องสมุดเสมือน (virtual library) ห้องสมุดดิจิทัล (digital library) ซึ่งเกิดจากการนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการบันทึกสารสนเทศมากขึ้น และมีการจัดเก็บสารสนเทศ ไว้ในรูปของสัญญาณดิจิทัล และเมื่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ และระบบโทรคมนาคมมีมากขึ้น จึงเกิดการพัฒนาศักยภาพ ของการบริการสารสนเทศในลักษณะห้องสมุดดิจิทัล ซึ่งมีสาเหตุจาก ความต้องการเผยแพร่ทรัพยากรสารสนเทศออกไป ให้กว้างขวางและทั่วถึง เกินกว่าจำนวนทรัพยากรสารสนเทศ ที่มีอยู่จริง เพื่อแก้ปัญหา ด้านการขาดแคลนทรัพยากรสารสนเทศ หรือในกรณีที่มีผู้ต้องการใช้ทรัพยากร
สารสนเทศ ที่มีอยู่ที่ใดที่หนึ่งเพียงแห่งเดียว หรือมีใช้อยู่ในวงจำกัดพร้อมกันหลายคน หรือบางแห่งมีทรัพยากรสารสนเทศอยู่ แต่ไม่มีผู้ใช้บริการ ในขณะที่ เป็นความต้องการของผู้ใช้ที่อื่น รวมทั้ง การแก้ปัญหาด้านสถานที่จัดเก็บ ที่มีขนาดไม่สมดุลย์กับปริมาณการเพิ่มขึ้น ของทรัพยากรสารสนเทศ
ศูนย์สารสนเทศ
จากความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการต่างๆ ที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผลการค้นคว้าวิจัย การค้นพบหลักการ ทฤษฎี และความรู้ใหม่ๆ ทำให้นักวิชาการมีความตื่นตัว มีการผลิตสารสนเทศออกมามากทำให้เกิดภาวะสารสนเทศท่วมท้น ขณะเดียวกัน ความต้องการในการใช้สารสนเทศของผู้ใช้เปลี่ยนไป คือ มีความต้องการสารสนเทศที่มีขอบเขตกว้างขวาง และมีเนื้อหาเฉพาะเจาะจง ทันสมัย ถูกต้อง รวดเร็ว ซึ่งห้องสมุดไม่สามารถสนองความต้องการได้ จึงมีการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้น
ศูนย์สารสนเทศ (Information center) หมายถึง หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขา หรือเฉพาะเรื่อง ศูนย์สารสนเทศจะรวมหน้าที่ของห้องสมุดเฉพาะ และขยายบทบาทรวมถึงหน้าที่ใกล้เคียง เช่น การเขียนรายงานวิชาการ การทำสาระสังเขป บริการคัดเลือกและเผยแพร่สารสนเทศ และบริการค้นคว้าจากเอกสารให้แก่ผู้ใช้บริการ
คำว่าศูนย์สารสนเทศ อาจใช้คำว่า ศูนย์บริการเอกสาร (documentation center) แทนได้ เนื่องจากมีภาระหน้าที่และลักษณะการปฏิบัติงานเหมือนกัน แต่มีข้อแตกต่าง คือ ศูนย์บริการเอกสารเน้นวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับเอกสาร ขณะที่ศูนย์สารสนเทศ เน้นการนำไปให้บริการกับผู้ใช้
ศูนย์ข้อมูล
ศูนย์ข้อมูล (data center) คือ แหล่งสะสมและเผยแพร่ข้อมูล ส่วนใหญ่เป็นตัวเลขหรือข้อมูลดิบ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน เพื่อเผยแพร่และให้บริการแก่ผู้ใช้อย่างมีระบบ มักใช้คอมพิวเตอร์จัดเก็บและประมวลผลข้อมูล
ศูนย์ข้อมูล (data center) คือ แหล่งสะสมและเผยแพร่ข้อมูล ส่วนใหญ่เป็นตัวเลขหรือข้อมูลดิบ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน เพื่อเผยแพร่และให้บริการแก่ผู้ใช้อย่างมีระบบ มักใช้คอมพิวเตอร์จัดเก็บและประมวลผลข้อมูล
ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนทศ
ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ (information clearing houses) คือ แหล่งรวบรวมสารสนเทศที่มีแหล่งผลิตอยู่ตามที่ต่างๆ เพื่อแจกจ่ายไปยังผู้ใช้บริการ ส่วนมากจะจำกัดขอบเขตเฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่ง เช่น ในสหรัฐอเมริกา มีศูนย์
ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศสุขภาพจิต ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศแห่งชาติเพื่อการควบคุมสิ่งเป็นพิษ เป็นต้น
ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ (information clearing houses) คือ แหล่งรวบรวมสารสนเทศที่มีแหล่งผลิตอยู่ตามที่ต่างๆ เพื่อแจกจ่ายไปยังผู้ใช้บริการ ส่วนมากจะจำกัดขอบเขตเฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่ง เช่น ในสหรัฐอเมริกา มีศูนย์
ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศสุขภาพจิต ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศแห่งชาติเพื่อการควบคุมสิ่งเป็นพิษ เป็นต้น
ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ
ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ (referal center) คือ หน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้ โดยแนะนำให้ทราบถึงแหล่งสารสนเทศ เช่น สถาบันบริการสารสนเทศ สถาบันการศึกษา สมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพ ฯลฯ เพื่อให้ผู้ใช้ติดต่อ ค้นคว้า อ้างอิงโดยตรงต่อไป ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ ส่วนใหญ่จะจำกัดสาขาวิชา เช่น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศสิ่งแวดล้อมนานาชาติ เป็นต้น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศจะไม่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศที่เป็นคำตอบโดยตรง แต่จะรวบรวมหรือจัดทำสารสนเทศประเภทคู่มือต่างๆ ซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับ แหล่งสารสนเทศ เช่น นามานุกรม ดรรชนี และตอบคำถามแก่ผู้ใช้ โดยแนะนำให้รู้จักแหล่งสารสนเทศที่เหมาะสม ในสาขาวิชาที่เฉพาะหรือตามขอบเขตของภารกิจที่ได้รับมอบหมาย
ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ (referal center) คือ หน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้ โดยแนะนำให้ทราบถึงแหล่งสารสนเทศ เช่น สถาบันบริการสารสนเทศ สถาบันการศึกษา สมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพ ฯลฯ เพื่อให้ผู้ใช้ติดต่อ ค้นคว้า อ้างอิงโดยตรงต่อไป ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ ส่วนใหญ่จะจำกัดสาขาวิชา เช่น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศสิ่งแวดล้อมนานาชาติ เป็นต้น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศจะไม่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศที่เป็นคำตอบโดยตรง แต่จะรวบรวมหรือจัดทำสารสนเทศประเภทคู่มือต่างๆ ซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับ แหล่งสารสนเทศ เช่น นามานุกรม ดรรชนี และตอบคำถามแก่ผู้ใช้ โดยแนะนำให้รู้จักแหล่งสารสนเทศที่เหมาะสม ในสาขาวิชาที่เฉพาะหรือตามขอบเขตของภารกิจที่ได้รับมอบหมาย
หน่วยงานจดหมายเหตุ
หน่วยงานจดหมายเหตุ (archives center) หมายถึง หน่วยงานราชการ หรือเอกชน ที่ทำหน้าที่เก็บรักษาจดหมายเหตุไว้เพื่อประโยชน์ในแง่ต่าง ๆ ได้แก่
1. เพื่อเป็นหลักฐานแสดงประวัติ พัฒนาการ นโยบาย และการดำเนินงานในอดีต
2. เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงาน ใช้อ้างอิงในการปฏิบัติหน้าที่ ช่วยให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย เป็นตัวอย่างในการกำหนดนโยบาย และแก้ปัญหาทางการบริหาร เศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ
3. เพื่อประโยชน์ต่อการอ้างอิง การค้นคว้าวิจัยในสาขาวิชาต่างๆ
หน่วยงานจดหมายเหตุ (archives center) หมายถึง หน่วยงานราชการ หรือเอกชน ที่ทำหน้าที่เก็บรักษาจดหมายเหตุไว้เพื่อประโยชน์ในแง่ต่าง ๆ ได้แก่
1. เพื่อเป็นหลักฐานแสดงประวัติ พัฒนาการ นโยบาย และการดำเนินงานในอดีต
2. เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงาน ใช้อ้างอิงในการปฏิบัติหน้าที่ ช่วยให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย เป็นตัวอย่างในการกำหนดนโยบาย และแก้ปัญหาทางการบริหาร เศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ
3. เพื่อประโยชน์ต่อการอ้างอิง การค้นคว้าวิจัยในสาขาวิชาต่างๆ
4. เพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
ในประเทศไทย หน่วยงานที่ทำหน้าที่เก็บรักษาจดหมายเหตุของทางราชการ ที่หน่วยงานราชการต่างๆ ส่งมอบให้ และบันทึกเหตุการณ์ร่วมสมัยของชาติ ที่มีความสำคัญไว้เป็นประวัติศาสตร์ เพื่อให้บริการค้นคว้าวิจัยแก่บุคคลทั่วไป คือ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ในประเทศไทย หน่วยงานที่ทำหน้าที่เก็บรักษาจดหมายเหตุของทางราชการ ที่หน่วยงานราชการต่างๆ ส่งมอบให้ และบันทึกเหตุการณ์ร่วมสมัยของชาติ ที่มีความสำคัญไว้เป็นประวัติศาสตร์ เพื่อให้บริการค้นคว้าวิจัยแก่บุคคลทั่วไป คือ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์
สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้บริการสารสนเทศโดยคิดค่าใช้จ่าย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. บริษัทค้าสารสนเทศ (information company) คือ บริษัทที่ทำธุรกิจด้านการจัดดำเนินการ วิเคราะห์ สื่อสาร และให้บริการสารสนเทศในสาขาวิชาต่าง ๆ
2. นายหน้าค้าสารสนเทศ (Information broker) คือ บุคคลหรือองค์กรที่ทำธุรกิจบริการรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล ประเมินค่า และเผยแพร่สารสนเทศตามความต้องการของลูกค้าโดยใช้แหล่งทรัพยากรทั้งหมดที่สามารถหาได้ (เอกสารการสอนชุดวิชาสารสนเทศศาสตร์เบื้องต้น, 2535, หน้า 152)
3. ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายฐานข้อมูล หมายถึง ผู้ที่ผลิตและสะสมข้อมูลในรูปแบบที่สามารถอ่านได้โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกว่า ฐานข้อมูล ซึ่งฐานข้อมูลอาจผลิตโดยหน่วยงานทางการค้า หน่วยงานของรัฐบาล สมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพ ฯลฯ สามารถให้บริการได้ทั้งระบบออนไลน์ (online system) และระบบออฟไลน์ (offline system) ซึ่งระบบออนไลน์ คือ ระบบที่ผู้ใช้ติดต่อไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อค้นคืนสารสนเทศจากฐานข้อมูล โดยผ่านช่องทางการสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ โทรสาร ผู้ผลิตฐานข้อมูลได้นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการบันทึกจัดเก็บข้อมูลและสร้างฐานข้อมูล ส่วนระบบออฟไลน์ คือ ระบบการประมวลผลที่ทำขึ้นโดยใช้อุปกรณ์ไร้สาย เช่น จัดทำเป็นแถบแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก จานแสง วัสดุย่อส่วน ซีดี-รอม เป็นต้น
สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้บริการสารสนเทศโดยคิดค่าใช้จ่าย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. บริษัทค้าสารสนเทศ (information company) คือ บริษัทที่ทำธุรกิจด้านการจัดดำเนินการ วิเคราะห์ สื่อสาร และให้บริการสารสนเทศในสาขาวิชาต่าง ๆ
2. นายหน้าค้าสารสนเทศ (Information broker) คือ บุคคลหรือองค์กรที่ทำธุรกิจบริการรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล ประเมินค่า และเผยแพร่สารสนเทศตามความต้องการของลูกค้าโดยใช้แหล่งทรัพยากรทั้งหมดที่สามารถหาได้ (เอกสารการสอนชุดวิชาสารสนเทศศาสตร์เบื้องต้น, 2535, หน้า 152)
3. ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายฐานข้อมูล หมายถึง ผู้ที่ผลิตและสะสมข้อมูลในรูปแบบที่สามารถอ่านได้โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกว่า ฐานข้อมูล ซึ่งฐานข้อมูลอาจผลิตโดยหน่วยงานทางการค้า หน่วยงานของรัฐบาล สมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพ ฯลฯ สามารถให้บริการได้ทั้งระบบออนไลน์ (online system) และระบบออฟไลน์ (offline system) ซึ่งระบบออนไลน์ คือ ระบบที่ผู้ใช้ติดต่อไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อค้นคืนสารสนเทศจากฐานข้อมูล โดยผ่านช่องทางการสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ โทรสาร ผู้ผลิตฐานข้อมูลได้นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการบันทึกจัดเก็บข้อมูลและสร้างฐานข้อมูล ส่วนระบบออฟไลน์ คือ ระบบการประมวลผลที่ทำขึ้นโดยใช้อุปกรณ์ไร้สาย เช่น จัดทำเป็นแถบแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก จานแสง วัสดุย่อส่วน ซีดี-รอม เป็นต้น
สถาบันบริการสารนิเทศมีหน้าที่รวบรวมและพยายามเผยแพร่ความรู้
ข้อมูล ข่าวสาร เพื่อให้ตรงกับความต้องการมากที่สุด
ซึ่งหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศในปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนแปลงบทบาทและหน้าที่เพิ่มขึ้นหลายอย่างแต่หน่วยงานเหล่านั้นก็มักจะมี
จุดมุ่งหมายอันเดียวกัน คือ เพื่อบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ให้มากที่สุดดังนั้นการจำแนกหน้าที่ของสถาบันบริการ
สารสนเทศจึงมีอยู่หลายประการดังนี้
จุดมุ่งหมายอันเดียวกัน คือ เพื่อบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ให้มากที่สุดดังนั้นการจำแนกหน้าที่ของสถาบันบริการ
สารสนเทศจึงมีอยู่หลายประการดังนี้
1. รวบรวมทรัพยากรสสารนิเทศทุกรูปแบบที่มีคุณภาพ
ทันสมัย และมีประโยชน์ในสาขาวิชาที่สถาบันบริการสารนิเทศนั้น ๆ
จัดบริการให้ตรงกับความสนใจและความต้องการของผู้ใช้ มีทั้งข้อมูลทั่ว ๆ ไปและข้อมูลที่ใช้เพื่ออ้างอิง ค้นคว้าและวิจัย เป็นต้น
จัดบริการให้ตรงกับความสนใจและความต้องการของผู้ใช้ มีทั้งข้อมูลทั่ว ๆ ไปและข้อมูลที่ใช้เพื่ออ้างอิง ค้นคว้าและวิจัย เป็นต้น
2. จัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อความสะดวก
รวดเร็วในการจัดเก็บและการให้บริการโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการ
จัดเก็บและการบริการ เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
จัดเก็บและการบริการ เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
3. ผลิตทรัพยากรสารนิเทศ ปฐมภูมิ (Primary
Sources) ทุติยภูมิ (Secondary Sources) และ ตติยภูมิ (Tertiary Sources)
เพื่อบริการและเผยแพร่แลกเปลี่ยนกับสถาบันบริการสารนิเทศอื่น ๆ และเพื่อการประชาสัมพันธ์ เช่น การผลิตหนังสือ วารสาร
หรือจดหมายข่าว จุลสาร ซีดีรอม วีดีทัศน์ ทำโฮมเพจสถาบัน ทำดัชนีวารสาร ทำสาระสังเขป รวบรวมบรรณานุกรมทั่ว ๆ ไป
ทำบรรณานุกรมทรัพยากรสารนิเทศใหม่ ๆ ทำกฤตภาค จัดทำสำเนาเอกสาร รูปภาพ หนังสือ และบริการข่าวสารทันสมัย เป็นต้น
เพื่อบริการและเผยแพร่แลกเปลี่ยนกับสถาบันบริการสารนิเทศอื่น ๆ และเพื่อการประชาสัมพันธ์ เช่น การผลิตหนังสือ วารสาร
หรือจดหมายข่าว จุลสาร ซีดีรอม วีดีทัศน์ ทำโฮมเพจสถาบัน ทำดัชนีวารสาร ทำสาระสังเขป รวบรวมบรรณานุกรมทั่ว ๆ ไป
ทำบรรณานุกรมทรัพยากรสารนิเทศใหม่ ๆ ทำกฤตภาค จัดทำสำเนาเอกสาร รูปภาพ หนังสือ และบริการข่าวสารทันสมัย เป็นต้น
4. จัดทำศูนย์แลกเปลี่ยนและเผยแพร่ข้อมูล และทรัพยากรสารนิเทศใหม่ ๆ
รูปแบบต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนกับสถาบันบริการ
สารนิเทศทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนเครือข่ายและที่มีผู้ขอใช้บริการมา
สารนิเทศทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนเครือข่ายและที่มีผู้ขอใช้บริการมา
5. จัดทำฐานข้อมูลและมีบริการค้นคืนสารนิเทศ (Information Retrieval Service)
6. จัดสถานที่อ่านและจัดหาครุภัณฑ์ที่นั่งค้นคว้า
ทันสมัย มีขนาดเหมาะกับผู้ใช้ และจัดที่นั่งเป็นสัดส่วน
ปรับอุณหภูมิและแสงสว่างที่เหมาะกับการศึกษาค้นคว้าวิจัย ดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ บริการให้มาใช้เป็นประจำ
ปรับอุณหภูมิและแสงสว่างที่เหมาะกับการศึกษาค้นคว้าวิจัย ดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ บริการให้มาใช้เป็นประจำ
7. จัดให้มีศูนย์แนะแหล่งสารนิเทศ
เพื่อแนะนำให้ผู้ใช้ได้ค้นคว้าแหล่งสารนิเทศอื่น ๆ ได้อีก เช่น
จัดทำสหบัตรทรัพยากรสารนิเทศ
(Union Catalog) เพื่อเป็นคู่มือให้ผู้ใช้ได้ทราบแหล่งสารนิเทศอื่น ๆ รวบรวมรายชื่อแหล่งสารนิเทศหรือสถาบันบริการสารนิเทศ
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนรวบรวมบรรณานุกรมรายชื่อทรัพยากรสารนิเทศบอกสถานที่สำนักพิมพ์
หรือโรงพิมพ์ที่จัดพิมพ์และจำหน่ายและราคาของทรัพยากรสารนิเทศนั้น ๆ
(Union Catalog) เพื่อเป็นคู่มือให้ผู้ใช้ได้ทราบแหล่งสารนิเทศอื่น ๆ รวบรวมรายชื่อแหล่งสารนิเทศหรือสถาบันบริการสารนิเทศ
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนรวบรวมบรรณานุกรมรายชื่อทรัพยากรสารนิเทศบอกสถานที่สำนักพิมพ์
หรือโรงพิมพ์ที่จัดพิมพ์และจำหน่ายและราคาของทรัพยากรสารนิเทศนั้น ๆ
8. จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในรูปแบบต่าง ๆ
และประชาสัมพันธ์ให้มีผู้มาร่วมกิจกรรมด้วย เช่น จัดนิทรรศการใหม่
นิทรรศการตามเทศกาล นิทรรศการปะวัติบุคคลสำคัญ แข่งขันตอบปัญหาในหนังสือ ประกวดอ่านทำนองเสนาะ ฯลฯ
นิทรรศการตามเทศกาล นิทรรศการปะวัติบุคคลสำคัญ แข่งขันตอบปัญหาในหนังสือ ประกวดอ่านทำนองเสนาะ ฯลฯ
9. จัดบริการพิเศษอื่น ๆ ให้กับผู้ใช้ เช่น บริการถ่ายเอกสาร
บริการแปลบริการบรรณานิทัศน์บริการยืมระหว่างสถาบัน
บริการสารนิเทศ เป็นต้น
บริการสารนิเทศ เป็นต้น
10. บริการค้นคว้าข้อมูลจากระบบอินเตอร์เน็ต
11. จัดบริการบรรยาย
ปาฐกถา โต้วาที อภิปราย ฯลฯ
แหล่งสถาบันบริการสารสนเทศ
\แหล่งสารสนเทศ
(Information Sources)
แหล่งสารสนเทศ หมายถึง
สถานที่ที่มีสารสนเทศสะสมอยู่
และเปิดโอกาสให้บุคคลสามารถเข้าใช้สารสนเทศเหล่านั้นได้ แบ่งได้เป็น 6 ประเภท ดังนี้
1.
แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบัน
จำแนกได้ดังนี้
|
· ห้องสมุด
(Library) คือสถานที่รวมทรัพยากรสารสนเทศสาขาวิชาต่าง
ๆ ที่อยู่ในรูปของวัสดุตีพิมพ์และวัสดุไม่ตีพิมพ์
รวมทั้งฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมีบรรณารักษ์เป็นผู้บริหารงาน และดำเนินงานต่าง ๆ
เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุด
|
|
· ศูนย์สารสนเทศ (Information Center) แหล่งสารสนเทศประเภทนี้แต่ละแหล่งมีชื่อต่าง
ๆ กัน อย่างไรก็ตามล้วนมีจุดมุ่งหมายเพื่อบริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา เช่น
ศูนย์สารสนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ ศูนย์เอกสารประเทศไทย ศูนย์ข้อมูลทางเทคโนโลยี
และศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร
|
2. แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ ได้แก่ อนุสาวรีย์ โบราณสถาน
อุทยานแห่งชาติรวมถึงสถานที่จำลองด้วย เช่น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ปราสาท
หินพิมาย เมืองโบราณ เป็นต้น แหล่งสารสนเทศเหล่านี้
มีประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าอย่างยิ่ง ทั้งยังเป็นแหล่งที่เข้าถึงได้ไม่ยากนัก
ข้อด้อยของแหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ก็คือ สถานที่บางแห่งอยู่ไกล
การเดินทางไปสถานที่แห่งนั้นต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก
3. แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้รอบรู้ในสาขาต่างๆ ผู้ต้องการ
สารสนเทศจากบุคคลต้องไปพบปะสนทนาหรือสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญนั้นโดย ตรงจึงจะได้สารสนเทศที่ต้องการ
|
|
4. แหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์ ได้แก่ กิจกรรมต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้น เช่น การประชุมการสัมมนาในเรื่องต่าง ๆ นิทรรศการหรืองานแสดงต่างๆ
รวมทั้งเหตุการณ์สำคัญๆ ในประวัติศาสตร์ เช่น "14 ตุลา"ในปี พ.ศ. 2516
"พฤษภาทมิฬ" ในปี พ.ศ. 2535 เป็นต้น
5. ศูนย์บริการสารสนเทศแบบซีดีรอม
และแบบออนไลน์ ศูนย์บริการประเภทนี้มีวิวัฒนาการ
สืบเนื่องมาจากศูนย์สารสนเทศที่ได้อธิบายไปข้างต้น เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
ก้าวหน้ามากขึ้น ศูนย์ฯ จึงนำ IT มาเป็นเครื่องมือ ในการให้บริการแก่ลูกค้า
เพราะสามารถให้บริการได้สะดวกและรวดเร็วกว่า IT ที่
ศูนย์บริการสารสนเทศนำมาใช้มีทั้งการจัดทำเป็นซีดีรอมให้ผู้ขอซื้อบริการ
ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ บรรดาห้องสมุดต่างๆ และการจัดบริการออนไลน์ ให้ห้องสมุดต่างๆ
ใช้คอมพิวเตอร์ค้นหาบทความ ในฐานข้อมูลที่ศูนย์ได้จัดทำขึ้น อย่างไรก็ตาม
การใช้ซีดีรอมนั้น มีปัญหาในเรื่อง ความสมบูรณ์ และทันสมัยของเนื้อหา
ดังนั้นจึงนิยมใช้การค้นแบบออนไลน์มากกว่า แม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
|
|
6. อินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก
เพราะหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัย สำนักข่าวสาร และสมาคมวิชาชีพ
ต่างก็จัดทำข้อมูลประชาสัมพันธ์ออกมาเผยแพร่เป็นจำนวนมาก
จึงทำให้อินเทอร์เน็ตประกอบด้วยข้อมูลและสารสนเทศมากมาย การที่จะได้มาซึ่ง
ข้อมูลที่ต้องการจึงต้องรู้ที่อยู่ของเว็บไซต์ที่ต้องการ
โดยเครื่องมือหนึ่งที่มีประโยชน์ในการค้นหาที่อยู่ของเว็บไซต์ที่ต้องการคือ Search
Engine ซึ่งมีหลายลักษณะ คือ
· Major
Search Engine - Search Engine ที่มีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง
เป็น Search Engine ชั้นนำ เพื่อค้นหาเว็บไซต์ที่ต้องการ
เช่น
Google.com,Yahoo.com
· Meta
Search Engine - Search Engine ที่ไม่มีฐานข้อมูลเป็นของตนเองแต่อาศัยฐานข้อมูลจาก Search
Engine อื่น ๆ หลายแห่งมาแสดง
· Directory Search Engine - Search Engine ประเภทหนึ่ง
ที่มีการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นหมวดหมู่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น