เทคนิคลด ความประหม่า เขินอาย
เทคนิคลด ความประหม่า เขินอาย
ลองเปลี่ยนความคิดบางอย่าง! พร้อมใช้ “กิจกรรมประจำวัน” ช่วยฝึกสร้างความมั่นใจ!
หลายคนคงเคยเกิดความประหม่า หรือ เขินอาย ไม่ค่อยกล้าที่จะแสดงออกเมื่อต้องเข้าสังคม หรือ อยู่ท่ามกลางผู้คนจำนวนมาก จนบ่อยครั้งทำให้เสียโอกาสในหลาย ๆ เรื่องไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งสาเหตุหลักมักเกิดจาก “ความไม่ค่อยมั่นใจ และกลัวการถูกจับจ้อง”
สำหรับเทคนิคช่วยลดความประหม่า และเขินอายนั้น สามารถพัฒนาได้ อย่าง “การพูดคุยทักทายกับเพื่อนบ้าน เพื่อนในห้องเรียน หรือ สมาชิกในที่ทำงานคนใหม่ ๆ” โดยอาจเริ่มจากบทสนทนาเกี่ยวกับเรื่องทั่ว ๆ ไป เช่น สภาพอากาศ สภาพแวดล้อม หรือ ข่าวสารปัจจุบัน นอกจากจะเป็นการผูกมิตรแล้ว ยังช่วยสร้างความกล้า และความมั่นใจในทางที่เหมาะสม
รวมทั้ง การเป็น “คนแถวหน้า” ก็ช่วยฝึกสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองได้ดี อย่าง ในการประชุม งานสัมมนา หรือ ฟังเสวนาต่าง ๆ ลองเปลี่ยนจากการนั่งแถวหลังเขยิบเข้ามานั่งในแถวหน้า ๆ ไม่ต้องกังวลกลัวเป็นเป้าสายตา เพราะสุดท้ายแล้วความสนใจส่วนใหญ่ก็จะถูกมุ่งไปยังเวที ซึ่งการนั่งในโซนหน้านั้น ยังทำให้เข้าใจ และเห็นสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ชัดเจนขึ้นด้วย
แต่หากต้องพูดในที่สาธารณะ “การลองซ้อมพูดหน้ากระจกก่อน” จะช่วยสร้างความเข้าใจในเนื้อหาเบื้องต้น โดยระหว่างนั้น อาจบันทึกวีดีโอไว้สำรวจบุคลิกภาพโดยรวม ตรวจดูข้อบกพร่องของความช้า-เร็วในการพูด น้ำเสียง สีหน้า แววตา รอยยิ้ม การยืน ตลอดจนการใช้ภาษากาย เพื่อพัฒนาได้ตรงจุด ซึ่งความคุ้นเคยดังกล่าว จะทำให้ไม่ประหม่าเกินไป รวมทั้ง การหายใจเข้าลึก ๆ และหายใจออกช้า ๆ ช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในเลือด คลายความวิตก-อึดอัดได้ดีเช่นกัน
“ความประหม่า และเขินอาย” ส่วนใหญ่มักเกิดจากความกังวล ลองเปลี่ยนความคิด “โดยเชื่อมั่นว่า ตัวเองต้องทำได้” พร้อมพัฒนาทักษะการเข้าสังคมที่ยังบกพร่องอีกสักหน่อย เชื่อว่า จะสามารถผ่านไปได้ในที่สุด.
ลองเปลี่ยนความคิดบางอย่าง! พร้อมใช้ “กิจกรรมประจำวัน” ช่วยฝึกสร้างความมั่นใจ!
หลายคนคงเคยเกิดความประหม่า หรือ เขินอาย ไม่ค่อยกล้าที่จะแสดงออกเมื่อต้องเข้าสังคม หรือ อยู่ท่ามกลางผู้คนจำนวนมาก จนบ่อยครั้งทำให้เสียโอกาสในหลาย ๆ เรื่องไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งสาเหตุหลักมักเกิดจาก “ความไม่ค่อยมั่นใจ และกลัวการถูกจับจ้อง”
สำหรับเทคนิคช่วยลดความประหม่า และเขินอายนั้น สามารถพัฒนาได้ อย่าง “การพูดคุยทักทายกับเพื่อนบ้าน เพื่อนในห้องเรียน หรือ สมาชิกในที่ทำงานคนใหม่ ๆ” โดยอาจเริ่มจากบทสนทนาเกี่ยวกับเรื่องทั่ว ๆ ไป เช่น สภาพอากาศ สภาพแวดล้อม หรือ ข่าวสารปัจจุบัน นอกจากจะเป็นการผูกมิตรแล้ว ยังช่วยสร้างความกล้า และความมั่นใจในทางที่เหมาะสม
รวมทั้ง การเป็น “คนแถวหน้า” ก็ช่วยฝึกสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองได้ดี อย่าง ในการประชุม งานสัมมนา หรือ ฟังเสวนาต่าง ๆ ลองเปลี่ยนจากการนั่งแถวหลังเขยิบเข้ามานั่งในแถวหน้า ๆ ไม่ต้องกังวลกลัวเป็นเป้าสายตา เพราะสุดท้ายแล้วความสนใจส่วนใหญ่ก็จะถูกมุ่งไปยังเวที ซึ่งการนั่งในโซนหน้านั้น ยังทำให้เข้าใจ และเห็นสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ชัดเจนขึ้นด้วย
แต่หากต้องพูดในที่สาธารณะ “การลองซ้อมพูดหน้ากระจกก่อน” จะช่วยสร้างความเข้าใจในเนื้อหาเบื้องต้น โดยระหว่างนั้น อาจบันทึกวีดีโอไว้สำรวจบุคลิกภาพโดยรวม ตรวจดูข้อบกพร่องของความช้า-เร็วในการพูด น้ำเสียง สีหน้า แววตา รอยยิ้ม การยืน ตลอดจนการใช้ภาษากาย เพื่อพัฒนาได้ตรงจุด ซึ่งความคุ้นเคยดังกล่าว จะทำให้ไม่ประหม่าเกินไป รวมทั้ง การหายใจเข้าลึก ๆ และหายใจออกช้า ๆ ช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในเลือด คลายความวิตก-อึดอัดได้ดีเช่นกัน
“ความประหม่า และเขินอาย” ส่วนใหญ่มักเกิดจากความกังวล ลองเปลี่ยนความคิด “โดยเชื่อมั่นว่า ตัวเองต้องทำได้” พร้อมพัฒนาทักษะการเข้าสังคมที่ยังบกพร่องอีกสักหน่อย เชื่อว่า จะสามารถผ่านไปได้ในที่สุด.
ขอบคุณข้อมูลจาก เดลินิวส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น