วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ชา



 ชาเป็นพืชที่นำมาทำเป็นเครื่องดื่ม เป็นที่นิยมบริโภคของคนทั่วโลก เช่นเดียวกับกาแฟ และโกโก้ โดยจีนเป็นประเทศแรกที่เริ่มนำชามาทำเป็นเครื่องดื่มเมื่อกว่า 2,000 ปีที่แล้ว จากนั้นความนิยมในการดื่มน้ำชาก็ได้แพร่กระจายไปทั่วโลก ทั้งในทวีปอเมริกา ยุโรป เอเชีย และในบางประเทศของทวีปแอฟริกาด้วย ในบรรดานักดื่มชาทั่วโลก ชาวอังกฤษถือได้ว่ามีการดื่มชามากที่สุด คือ ดื่มคนละ 3.06 กิโลกรัม/ปี รองลงมาได้แก่ สาธารณรัฐไอร์แลนด์ อิรัก ฮ่องกง ญี่ปุ่น อินเดีย และไทย ตามลำดับ


ชาเป็นพืชกึ่งร้อน สามารถขึ้นได้ดีในเขตอบอุ่น และมีฝน จึงทำให้แหล่งปลูกชากระจายอยู่ตั้งแต่ละติจูดที่ 45 องศาเหนือในรัสเซีย ถึง 50 องศาใต้ในทวีปแอฟริกา ปลูกได้ในพื้นที่ที่มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000-2,000 เมตร ผลผลิตชาส่วนใหญ่จะอยู่ในทวีปเอเชียโดยพื้นที่ที่มีการปลูกชามากจะอยู่ระหว่างแนวเหนือใต้ ตั้งแต่ประเทศญี่ปุ่นถึงอินโดนีเซีย และแนวตะวันออก-ตก จากประเทศอินเดียถึงญี่ปุ่น เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้จะอยู่ในเขตมรสุมมีอากาศอบอุ่นและมีปริมาณน้ำฝนมากเหมาะกับต้นชาที่กำลังเจริญเติบโต

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ชื่อสามัญ : Tea          
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Camellia sinensis (L.) Okuntze. (2n=30)
ต้นชา   เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 30 ฟุต ทรงพุ่มเป็นรูปกรวย
ระบบราก    ต้นชาที่เพาะจากเมล็ดจะมีรากแก้ว และมีรากฝอยหาอาหาร รากชาจะมีการสะสมของคาร์โบไฮเดรตในรูปของแป้ง ซึ่งมีการแตกยอดใหม่ (flushing)ของต้นชา จะขึ้นกับการสำรองคาร์โบไฮเดรตในราก โดยทั่วไปต้นชาที่งอกจากเมล็ดจะมีรากหยั่งลึกในดินเฉลี่ยประมาณ 1.5 เมตร แต่อาจมีความยาวถึง 3 เมตร หรือมากกว่าก็ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของต้นชาและสภาพดิน
ใบ   เป็นใบเดี่ยว การจัดเรียงตัวของใบเป็นแบบสลับ 1 ใบต่อ 1 ข้อ โดยพัฒนาจากตาที่มุมใบ ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ปลายใบแหลม แผ่นหนา หน้าใบเป็นมัน ใบยาวประมาณ 7-30 เซนติเมตร ใต้ใบมีขนอ่อนปกคลุม ปากใบมีมากบริเวณใต้ใบ ชาอัสสัมจะมีใบสีอ่อนขนาดใหญ่ ส่วนชาจีน มีใบแคบ และสีค่อนข้างคล้ำกว่าชาอัสสัม
ดอก   จะเกิดออกมาจากตาระหว่างลำต้นกับใบมีทั้งดอกเดี่ยว และดอกช่อ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมีย เกสรตัวผู้มีสีเหลืองจำนวนมาก ก้านเกสรตัวผู้ยาวประมาณ 8-10 มิลลิเมตร อับเกสรตัวผู้มี 2 ช่อง ก้านชูเกสรตัวเมียสั้น ยอดเกสรตัวเมียมี 3-5 lobe กลีบดอกชามีสีขาว จำนวน 5-8 กลีบ ลักษณะโค้งเว้าแบบ obovate กลีบเลี้ยงสีขาว 5-6 กลีบ

ผล   เป็นแคปซูล (capsule) เปลือกหนาสีน้ำตาลอมเขียว แบ่งเป็น 3 ช่อง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2.0 เซนติเมตร จากเริ่มติดผลถึงผลแก้ใช้เวลาประมาณ 9-12 เดือน เมื่อผลแก่เต็มที่ ผลจะแตกทำให้เมล็ดหล่นลงดินได้
เมล็ด   มีรูปร่างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.8-1.6 เซนติเมตร มีใบเลี้ยง 2 ใบ อวบหนามีน้ำมันมากลักษณะหุ้มต้นอ่อนไว้ ผนังเมล็ดแข็งหนาเชื่อมติดกับเปลือกหุ้มเมล็ด (testa) ซึ่งมีลักษณะบางเหนียว เมล็ดจะสามารถงอกได้ใน 2-3 อาทิตย์ ต้นอ่อนตั้งตรง ในผล 1 กิโลกรัม จะมีเมล็ดชา 400-600 เมล็ด
สำหรับประเทศไทย ในปี 2535 และ 2536 มีพื้นที่ปลูกชา 34,104 และ 33ล907 ไร่ มีผลผลิตใบชาสดรวม 45,340 และ 40,847 ตันตามลำดับ โดยจังหวัดเชียงรายมีการปลูกและได้ผลผลิตมากที่สุด รองลงมาคือ จังหวัดลำปาง แพร่ และเชียงใหม่ จากปริมาณการผลิตที่ไ่ด้ทำให้ประเทศไทยมีทั้งการนำเข้าและส่งออกชา ซึ่งมีปริมาณและมูลค่า ดังนี้
การนำเข้า
ปีปี 2534ปี 2535ปี 2536
ปริมาณ(ตัน)589.08625.74638.72
มูลค่า(ล้านบาท)32.6245.0148.77
การส่งออก
ปริมาณ(ตัน)275.92254.44198.65
มูลค่า(ล้านบาท)12.2618.8825.24
องค์ประกอบทางเคมี
ชาเป็นไม้พุ่มอายุยืน ประกอบด้วยสารโพลีฟีนอล (Polyphenols) มากถึง 20-35% ซึ่งมีผลต่อรสฝาดและสีของน้ำชา ข้อมูลจากการหมัก (Decomposition) และการวิเคราะห์แสหงให้เห็นว่าชามีองค์ประกอบทางอินทรีย์ (Organic Matter) ไม่น้อกว่า 450 ชนิด และยังพบสารอนินทรีย์ (Inorganic Mater) ไม่น้อยกว่า 15 ชนิด
พันธุ์
ชาอัสสัม Assem Tea
ชื่อวิทยาศาสตร์ Camellia sinensis Var.assamica (Mast.) 
ลักษณะเป็นลำต้นเดี่ยว สูงประมาณ 6-18 เมตร ใบใหญ่เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้ง ดอกออกเป็นช่อๆ ละ 2-4 ดอก ชาอัสสัมสามารถแบ่งออกเป็นพันธุ์ย่อยได้ 5 สายพันธุ์คือ
  1. พันธุ์อัสสัมใบจาง (Light leaved Assam jat) ต้นมีขนาดเล็ก ยอดและใบมีสีเขียวอ่อน ลักษณะใบเป็นมันวาวขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย เป็นพันธุ์ที่อ่อนแอ ให้ผลผลิตต่ำและคุณภาพไม่ดี เมื่อนำมาทำชาจีนจะมีสีน้ำตาล
  2. พันธุ์อัสสัมใบเข้ม (Dark leaved Assam jat) ยอดและใบมีสีเขียวเข้ม ใบนุ่มเป็นมัน มีขนปกคลุม ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพดี เมื่อนำมาทำชาจีน จะมีสีดำ
  3. พันธุ์มานิปุริ (Manipuri jat) เป็นพันธุ์ที่แข็งแรง ให้ผลผลิตสูง ใบมีสีเขียวเข้มเป็นประกาย ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ทนแล้งได้ดี
  4. พันธุ์พม่า (Burma jat) ใบมีสีเขียวเข้ม ใบแก่มีสีเขียวแกมน้ำเงิน ใบกว้างแผ่นใบรูปไข่ ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดีมาก
  5. พันธุ์ลูไซ (Lushai jat) ขอบใบหยักลึก ปลายใบเห็นได้ชัด

ชาจีน China Tea
ชื่อวิทยาศาสตร์ Camellia sinensis Var-sinensis
ลักษณะลำต้นเป็นพุ่มเตี้ย สูงประมาณ 2-3 เมตร ใบมีสีเขียวข้ม ขนาดเล็ก ยาวแคบ ขนาดใบยาว 3.8-6.4 เซนติเมตร ตั้งตรง ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย เส้นใบมองเห็นไม่ชัด ข้อถี่ปล้องสั้น ทนทานต่ออุณหภูมิต่ำและสภาพแวดล้อมที่ผันแปรได้ดี ผลผลิตต่ำเมื่อเทียบกับกลุ่มพันธุ์ชาอัสสัม ชาพันธุ์นี้ปลูกมากในประเทศจีน สายพันธุ์ที่นิยมปลูกจะแตกต่างกันไป ในแต่ละท้องที่ เช่น สายพันธุ์ชิงชิงอูหลง ชิงขิงต้าพัง เตไกวอิน ฯล

ชาเขมร Indo-China Tea
ชื่อวิทยาศาสตร์ Camellia sinensis Var. Indo-China
ลักษณะลำต้นเดี่ยว สูงประมาณ 5 เมตร ใบแข็งเป็นมัน ใบยาว ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย แผ่นใบม้วนงอเป็นรูปคล้ายตัววี ก้านใบสีแดง ในฤดูแล้งใบจะมีสีแดงเรื่อๆ ยอดอ่อนรสฝาดจัด มี แทนนินสูง ทนแล้งได้ดี
การคัดเลือกชาเพื่อทำพันธุ์
ในการปลูกชาใหม่ ถ้าคัดเลือกต้นชาที่ให้ผลผลิตสูงมาปลูก จะทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนน้อยลง ลักษณะต้นชาที่ดีควรที่จะคัดเลือกไว้ทำพันธุ์มีดังนี้
  • เก็บผลผลิตได้ในช่วงระยะเวลาสั้น
  • แผ่กิ่งก้านสาขาดี
  • หลังจากการตัดแต่งกิ่งก้านมากและมีการเจริญเติบโต
  • มีจำนวนใบมาก
  • มีหน่อที่ชะงักการเจริญเติบโตน้อย
  • ข้อไม่สั้นเกินไป
  • ผลิดอกและให้ผลดี
ประโยชน์ของชา
ชาเป็นเครื่องดื่มที่มีธาตุอาหารหลายชนิดเป็นองค์ประกอบที่ช่วยบำรุงให้ร่างกายมีสุขภาพดี ซึ่งประโยชน์ของชา พอจะสรุปได้ดังนี้
  • ช่วยกระตุ้นให้ระบบประสาทและร่างกายสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากชามีสารคาเฟอีนเป็นองค์ประกอบ ซึ่งคาเฟอีนนี้จะไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและระบบหมุนเวียนของโลหิต ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย มีอิทธิพลต่อขบสนการเมตตาโบลิซึ่มของเซลล์ร่างกาย ช่วยขยายหลอดเลือด และป้องกันโรคใจตีบตัน นอกจากนี้ชายังสามารถรักษาอาการเจ็บหน้าอก และกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหล่อเลี้ยง รักษาโรคหวัด โรคปวดหัวโดยไม่มีผลข้างเคียง
  • ช่วยแก้กระหายและช่วยในการย่อยอาหาร ในช่วงอากาศร้อน การดื่มชาจะช่วยให้มีความรู้สึกสดชื่นขึ้น เนื่องจากในชามีสารโพลีฟีนอล (polyphenol) คาร์โบไฮเดรท และกรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบ เมื่อสารเหล่านี้เกิดปฏิกิริยากับน้ำลาย จะช่วยกระจายความร้อนส่วนเกินในร่างกาย พร้อมกับชะล้างสารพิษต่าง ๆ ออกไป ช่วยเร่งให้มีการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ขบสนการเมตตาโบลิมซึ่มเกิดความสมดุล หรือในช่วงหลังตื่นนอน เรามักรู้สึกขมปาก และกระหายน้ำ การดื่มชาถ้วยหนึ่งจะช่วยล้างปาก และกระตุ้นให้มีความอยากรับประทาน นอกจากนั้นชายังให้สารไอโอดีน และฟลูออไรด์ที่เป็นสารป้องกันภาวะไทรอยด์ผิดปกติ (hyperthyroidism) ซึ่งฟลูออไรด์เพียงพอกับความต้องการจะช่วยป้องกันฟันผุ หรือหลังจากรับประทานอาหารแล้วดื่มชาแก่ ๆ สักถ้วยจะช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยอาหารจำพวกวิตามินกลุ่มต่าง ๆ เช่น inositol, folio acid, pantothenic acid เป็นต้น นอกจากนี้ใบชายังมีสารประกอบอื่นอีก เช่น methionine, thenylcyoteine ซึ่งสารเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมขบวนการเมตตาโบลิซึ่มเพื่อย่อยไขมั ส่วนสารให้กลิ่น (aromatic) ที่เป็นองค์ประกอบในชาจะช่วยย่อยอาหารและระงับกลิ่งปากเพราะว่าไขมันสามารถละลายในสารให้กลิ่นเหล่านี้ ดังนั้น ชาจึงเป็นเครื่องดื่มของชนชาตที่นิยมบริโภคเนื้อสัตว์ และเนยเป็นอาหารหลัก
  • ช่วยฆ่าเชื้อโรค ลดการอักเสบ ช่วยสมานแผล ช่วยในการขับถ่าย และชะล้างสารพิษในร่างกาย เนื่องจากในชามีสารโพลีฟีนอล สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (colon bacillus) เช่น ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค ฯลฯ โดยทำให้โปรตีนของเชื้อแบคทีเรียนั้นแข็งตัว (solidifying) จากหลักฐานโบราณของจีนพบว่า น้ำชาแก่ๆ 1 ถ้วย ใช้รักษาโรคบิดได้อย่างดี ช่วยรักษาบาดแผลลดความเป็นพิษและอาการอักเส ดังนั้น บริษัทผลิตยาสำเร็จรูปจึงใช้ชาเป็นองค์ประกอบในการผลิตยาสำหรับรักษาโรคบิดและหวัด สารโพลีฟีนอลในใบชาสามารถย่อย (decompose) อลูนิเนียม สังกะสี และสารอัลคาลอยที่อยู่ในน้ำได้ ช่วยให้น้ำสะอาดขึ้น นอกจากนี้ชายังสามารถช่วยรักษาโรคพิษสุราเรื้องรัง และสารพิษในบุหรี่ น้ำชาแก่ 1 หรือ 2 ถ้วย ช่วยละลายสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปโดยสารคาเฟอีนและโพลีฟีนอลจะทำปฏิกิริยาเป็นกลางกับอัลกอฮอล์ (neutralization)
  • ช่วยทำให้สุขภาพแข็งแรง โดยเฉพาะชาเขียวจะมีวิตามินซี วิตามินบีคอมเพล็คและกรดเพนโทเทนิค รวมทั้งวิตามินพี ซึ่งสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย โดยคาเทคชิน (catechine) ที่เป็นองค์ประกอบใน polyphenol เช่น วิตามินพี ช่วยให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นมากขึ้น (permeable) ช่วยไม่ให้เส้นเลือดแข็งตัวง่าย, กรด pantothenic ช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น, วิตามินบี 1 สามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของเมล็ดเลือด, วิตามินบี 2 ช่วยลดการอักเสบ เช่น การอักเสบที่ผิวหนังและอาการของโรคปอดบวม เป็นต้น ชาฝรั่ง (black tea) มีวิตามินเคมาก การดื่มชาฝรั่งวันละ 5 ถ้วย จะทำให้ร่างกายได้รับวิตามินเค พอเพียงกับความต้องการของร่างกาย
  • ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง (fitness) ต่อต้านโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ชาพุเออ ที่ผลิตในยูนาน มีชื่เสียงในด้านสรรพคุณทางเภสัชกรรม จากการวิจัยพบว่า ชาเถา (Tuocha) เป็นชาที่ช่วยลดความอ้วน และช่วยรักษาโรคหลอดเลือดอุดตันได้เป็นอย่างดี เนื่องจากการดื่มชาเถา จะช่วยลดปริมาณสารประกอบ antilipoidic แก่บุคคลที่มีปัญหาเรื่องอ้วน เครียดและโรคหลอดเลือดอุดตัน
  • ชาอูหลง สามารถช่วยลดความอ้วนและอาการท้องผูก โดยจะช่วยละลายไขมันและช่วยในการย่อยอาหารและลดประจุ (discharge) ในปัสสาวะ
  • มีรายงานต่างประเทศที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง คือ ชาวจีนและชาวญี่ปุ่นที่อยู่ในไร่ชา ล้วนแต่มีอายุยืนนานและมีสุขภาพดี ซึ่งสัณนิษฐานว่ามาจากการที่ปลูกชาเองแล้วก็ชงชาดื่มเป็นประจำ นอกจากนี้คนญี่ปุ่นยังเชื่อว่า การดื่มชาเขียวจะช่วยลดการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งในกระเพาะอาหาร รวมทั้งยังมีคุณสมบัติคล้ายยาเอแซดที (AZT) ที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ซึ่งขณะนี้มีรายงานว่าแพทย์ญี่ปุ่นกำลังทำการแยกสารขมออกจากชาเพื่อนำมาใช้รักษาโรคพร้อมทั้งแพทย์ยังแนะนำด้วยว่า ถ้าดื่มชาวันละ 3 ถ้วย จะได้รับวิตามินอี เป็นจำนวน 50% วิตามินเอ อีก 20% ของความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน
  • สถาบันมะเร็งแห่งนครเซี่ยงไฮ้ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และสถาบันมะเร็งของสหรัฐอเมริกาได้ทำการวิจัยจากคนดื่มชา 900 คนในเซี่ยงไฮ้ และ 11,500 คน ในอเมริกาพบว่าคนที่ดื่มชาเขียวเป็นประจำนานๆ โอกาสเป็นมะเร็งในกระเพาะอาหารจะน้อยลง โดยจะลดลงในเพศชาย 20% ในเพศหญิง 20% ในเพศหญิง 50% เนื่องจากเพศหญิงไม่มีปัจจัยเสริมในการเป็นมะเร็งเช่น การดื่มเหล้า หรือสูบบุหรี่ และการวิจัยยังพบอีกด้วยว่า ผลดีของชาเขียวจะลดลง ถ้าดื่มชาร้อนจัด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น