วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สารสนเทศศาสตร์เบื้องต้นและวิชาชีพบรรณารักษ์


ความหมายของสารสนเทศศาสตร์

Davis, Charles. (1979 : 3) ได้ให้ความหมายของสารสนเทศศาสตร์ ไว้ว่า
สารสนเทศศาสตร์ เป็นวิชาใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคม ข่าวสาร เป็นวิชาที่พัฒนามาจากหลายสาขาวิชาการ โดยเป็นสหวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการถ่ายทอดสารสนเทศ มีรากฐานจากวิชาบรรณารักษศาสตร์มาตั้งแต่ 669 – 630 ก่อนคริสตกาล และมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในช่วงหลังสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในระยะเริ่มแรก มีขอบเขตอย่างกว้าง ๆ เป็นวิชาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวม การจัดองค์กร การถ่ายทอด และการใช้ประโยชน์จากสารสนเทศและเมื่อขอบเขตวิชาเกี่ยวข้องไปทางพัฒนาการเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์จึงมีความหมายให้เกี่ยวข้องกับสภาพการใช้สารสนเทศ กลายเป็นวิชาที่ว่าด้วยการพัฒนาสารสนเทศ เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อสารสนเทศทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ตลอดจนศิลปะวิทยาการต่าง ๆ

กองบรรณาธิการ (2531 : 56 - 64) ได้ให้ความหมายของสารสนเทศศาสตร์ไว้ว่า ในภาษาไทย คำว่า “Information Science” ตรงกับคำว่า สารสนเทศศาสตร์ มีความหมายว่า เป็นวิชาที่มีขอบเขตเกี่ยวกับการจัดการที่เกี่ยวข้องกับความรู้ ข่าวสาร ตลอดจนข้อมูลต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์มุ่งให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์จากความรู้ หรือข่าวสารดังกล่าว ได้อย่างรวดเร็ว และเป็นประโยชน์มากที่สุด
ชุติมา สัจจานันท์ (2530 : 17) ให้ความหมายของสารสนเทศไว้ว่า คือ ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ข้อสนเทศ สารสนเทศ ทั้งในรูปแบบสิ่งพิมพ์ โสตทัศนวัสดุ และวัสดุย่อส่วน เพื่อใช้ประโยชน์ทางการสื่อสารและการพัฒนาด้านต่างๆ ทั้งส่วนบุคคลและสังคม ที่มีข้อเท็จจริง เหตุการณ์ ที่ผ่านกระบวนการ ประมวลผล มีการถ่ายทอด และการบันทึกไว้ในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ รายงาน โสตทัศนวัสดุ เทปคอมพิวเตอร์ ตลอดจนการถ่ายทอดในรูปแบบอื่นๆ เช่น คำพูด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ให้ผู้รับสารได้ทราบ ฉะนั้น เมื่อพิจารณาถึงสารสนเทศ จึงอาจพิจารณาได้ 2 ประเด็น คือ เนื้อหา และการประมวลผล เพื่อเผยแพร่หรือถ่ายทอดเนื้อหาของสารสนเทศนั้น ด้านเนื้อหา สารสนเทศถือได้ว่าเป็นผลผลิตทางปัญญา ของมนุษย์สาขาวิชาใด เรื่องใด ปรากฏในรูปแบบใด ภาษาใดก็ได้ ส่วนการประมวล หมายถึง วิธีที่ใช้ในการผลิต การส่ง การจัดเก็บ การถ่ายทอดหรือเผยแพร่เนื้อหา ของสารสนเทศเพื่อนำไปใช้ ให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง

จากความหมายต่างๆ ที่มีผู้ให้ไว้ สรุปได้ว่า สารสนเทศ คือ ข้อมูล ความรู้ ที่ผ่านการประมวลผล และมีการบันทึกไว้ในสื่อรูปแบบต่างๆ ทั้งสื่อตีพิมพ์และไม่ตีพิมพ์เพื่อการเผยแพร่และนำไปใช้ประโยชน์ ข้อมูลกับสารสนเทศมีความสัมพันธ์กัน คือ ข้อมูลถ้าได้ผ่านกระบวนการประมวลผล หรือจัดทำให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมาย และผู้รับสารสนเทศสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ข้อมูลนั้นก็จะกลายเป็นสารสนเทศ

ความสำคัญของสารสนเทศศาสตร์

จุมพจน์ วนิชกุล (2549 : 7 - 9) ได้กล่าวไว้ว่าสารสนเทศศาสตร์เป็นสื่อความรู้ที่จำเป็นและสำคัญอันเป็นมรดกทางปัญญาของมวลมนุษยชาติที่ได้บันทึกไว้ในสื่อต่างๆ สืบทอดกันมาเป็นระยะเวลาช้านานนับเป็นรากฐานอันจำเป็นและบ่งบอกถึงกระบวนการสร้างสรรค์วัฒนธรรม อารยธรรม และสังคมของโลก โดยชนรุ่นหลังได้ใช้ประโยชน์ จากสารสนเทศในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม ในการดำเนินชีวิตประจำวันของบุคคลนั้นต่างต้องเผชิญกับปัญหานานาประการ อยู่ตลอดเวลา ในการตัดสินใจแก้ปัญหาที่ถูกต้องทันเหตุการณ์ และได้ผลดีของแต่ละคนก็จะไม่เหมือนกัน มักขึ้นอยู่กับการประมวลข้อมูล ข่าวสารมาประกอบการตัดสินใจ นอกจากมนุษย์จะใช้สารสนเทศในการแก้ไขปัญหาแล้ว ยังใช้สารสนเทศขจัดความไม่รู้ และยังนำสารสนเทศมาใช้เพื่อให้เกิดความเจริญทางด้านจิตใจ เช่น การสร้างความเพลิดเพลินงานทางด้านศิลปะ การรู้จักควบคุมอารมณ์ การมีสติ และการก่อให้เกิดประสบการณ์ทั้งปวง

กฤติยา อัตถากร (2545 : 7) ในปัจจุบันโลกอยู่ในยุคที่เรียกว่า ยุคสารสนเทศ (information age) สังคมสารสนเทศ (information society) สังคมแห่งการเรียนรู้ (knowledge society) หรือ ยุคการสื่อสารไร้พรมแดน สารสนเทศเป็นปัจจัยสำคัญ ในการกำหนดแนวทางการพัฒนาด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ปัจจุบันสารสนเทศมีปริมาณการผลิตเพิ่มมากขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นการละเลยไม่แสวงหาสารสนเทศ จะทำให้ได้รับสารสนเทศล่าช้า ไม่ทันต่อเหตุการณ์ บางครั้งทำให้เสียเวลาในการทำงานที่ซ้ำซ้อน สูญเสียทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์ ความสำคัญของความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร จัดว่าเป็นทรัพยากรสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับการพัฒนาไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าทรัพยากร ธรรมชาติ และทรัพยากรมนุษย์ สอดคล้องกับที่ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กำหนดว่า ทรัพยากรที่สำคัญของโลก มี 3 ประการ คือ ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรมนุษย์ และทรัพยากรสารสนเทศ และได้ให้ความสำคัญ ของสารสนเทศว่าเป็นรากฐานอันจำเป็น สำหรับความก้าวหน้าของอารยธรรมและสังคม เป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการสร้างสรรค์ หรือการใช้ทรัพยากร เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ในการตัดสินใจ สารสนเทศมีความสำคัญต่อหน่วยงาน องค์การต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ตลอดจนนักวิชาการ และบุคคลทั่วไป ซึ่งจำเป็นต้องใช้สารสนเทศอยู่ตลอดเวลา แต่จะเป็นด้านใด มีความลึกซึ้งเพียงใด ขึ้นอยู่กับลักษณะหน้าที่ ภารกิจของหน่วยงานหรือบุคคลนั้น ๆ ในสังคมปัจจุบันนี้ สารสนเทศได้มีบทบาทต่อการดำเนินงานของทุกสาขาอาชีพ ทั้งในภาครัฐและเอกชน ให้ประสพผลสำเร็จและพัฒนาให้มีความเจริญก้าวหน้า เป็นสื่อที่ก่อให้เกิดความเข้าใจ อันดีระหว่างมวลมนุษย์ทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ ประการสำคัญ คือ เป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ จริยธรรม สังคม วัฒนธรรม การเมือง การปกครอง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ สารสนเทศที่ถูกต้องสมบูรณ์และทันสมัยเท่านั้น ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ

ความสำคัญของสารสนเทศต่อบุคคล

จินดารัตน์ โกสุวรรณ (2530 : 11 - 16) ได้กล่าวถึงความสำคัญของสารสนเทศไว้ว่า ทำให้สามารถต่อสู้กับสิ่งแวดล้อมซึ่งไม่รู้จักและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต และสามารถนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต ทำให้มีปัจจัยในการดำรงชีวิตอันได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ทำให้สามารถต่อสู้กับความไม่รู้ของตนเอง ในเรื่องที่จำเป็นต้องรู้ สารสนเทศ ช่วยให้มนุษย์เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ที่อยู่รอบตัว เช่น ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เรื่องร่างกาย และจิตใจของตน เรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมของเพื่อนมนุษย์ ทำให้สามารถปรับตัว และสร้างสัมพันธภาพกับเพื่อนมนุษย์ ที่อยู่ร่วมกันได้ ทำให้สามารถเผชิญกับปัญหาต่างๆ รู้จักใช้สารสนเทศในการตัดสินใจ แก้ปัญหา และจะกระทำหรือไม่กระทำในสิ่งต่างๆ ได้อย่างรอบคอบ เพราะการได้รับสารสนเทศที่ถูกต้อง ครบถ้วน และทันเวลา เป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทำให้เกิดความเจริญทางจิตใจ มีสติ รู้จักควบคุมอารมณ์ที่ไม่พึงปรารถนา รู้จักสร้างสรรค์ศิลปะ ให้เกิดความสวยงาม มีความเพลิดเพลินในการศึกษา ทางศาสนา ก่อให้เกิดความสงบ เยือกเย็น และดำรงชีพได้อย่างมีสุข

ความสำคัญของสารสนเทศต่อสังคม

จินดารัตน์ โกสุวรรณ (2530 : 17) ได้กล่าวถึงความสำคัญของสารสนเทศว่า ก่อให้เกิดการศึกษา ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาสังคม สังคมใดที่คนในสังคมได้รับการศึกษา รู้หนังสือ และสามารถเข้าถึงสารสนเทศ สังคมนั้นจะสามารถพัฒนาอย่างรวดเร็ว รักษาไว้และถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม สารสนเทศจะช่วยอนุรักษ์พัฒนา และถ่ายทอดความรู้ ให้แก่คนรุ่นใหม่ต่อไปได้ สามารถเรียนรู้ความเข้าใจ ในวัฒนธรรมของคนที่อยู่ต่างสังคมได้ เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม มีความเข้าใจระหว่างกัน ทำให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขเสริมสร้างความรู้ ความสามารถทางด้านเทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ
จากความสำคัญที่มีผู้ให้ไว้ สรุปได้ว่า สารสนเทศศาสตร์เป็นสื่อความรู้ที่จำเป็นและสำคัญอันเป็นมรดกทางปัญญาของมวลมนุษยชาติที่ได้บันทึกไว้ในสื่อต่างๆ สืบทอดกันมาเป็นระยะเวลาช้านานนับเป็นรากฐานอันจำเป็นและบ่งบอกถึงกระบวนการสร้างสรรค์วัฒนธรรม อารยธรรม และสังคมของโลก โดยชนรุ่นหลังได้ใช้ประโยชน์ จากสารสนเทศในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม

จากความสำคัญที่มีผู้ให้ไว้ สรุปได้ว่า สารสนเทศศาสตร์เป็นสื่อความรู้ที่จำเป็นและสำคัญอันเป็นมรดกทางปัญญาของมวลมนุษยชาติที่ได้บันทึกไว้ในสื่อต่างๆ สืบทอดกันมาเป็นระยะเวลาช้านานนับเป็นรากฐานอันจำเป็นและบ่งบอกถึงกระบวนการสร้างสรรค์วัฒนธรรม อารยธรรม และสังคมของโลก โดยชนรุ่นหลังได้ใช้ประโยชน์ จากสารสนเทศในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม

บทบาทของสารสนเทศศาสตร์

บทบาทต่อการพัฒนาประเทศ

จุมพจน์ วนิชกุล (2549 : 34) ได้กล่าวว่า สารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในทุก ๆ ด้านถ้าประชาชนภายในประเทศมาปรับปรุงการดำเนินงาน พัฒนางานที่กำลังกระทำอยู่ก็มีส่วนช่วยพัฒนาประเทศในทางอ้อม ทั้งนี้เพราะสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นต่อการติดตามสารสนเทศอยู่เสมอ

บทบาทด้านการค้า
จุมพจน์ วนิชกุล (2549 : 35) ได้กล่าวไว้ว่า การค้าที่ดำเนินไปด้วยดีสำหรับผู้ประกอบการค้าและผู้ขายสินค้านั้น ขึ้นอยู่กับการเผยแพร่สารสนเทศทางการค้าที่จัดทำขึ้นอยู่กับการเผยแพร่สารสนเทศทางการค้าอยู่อย่างสม่ำเสมอ สารสนเทศทางการค้าหากมีการเผยแพร่มาก ยิ่งทำให้ผู้ต้องการสินค้ากล้าตัดสินใจในการดำเนินงานทางการค้า ในทำนองเดียวกันหากไม่มีข้อมูลทางการค้าเพียงพอก็อาจทำให้การค้าชะงักงันหรือเกิดความเสียหายได้

บทบาทด้านการศึกษา
จุมพจน์ วนิชกุล (2549 : 36) ได้กล่าวไว้ว่า สังคมสารสนเทศที่ผ่านมาในอดีตถึงปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา แต่ละประเทศรวบรวมสารสนเทศทุกชนิดเพื่อการศึกษาของคนในประเทศเป็นหลักก่อน มีการสนับสนุนการจัดตั้งห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศต่างๆ เพื่อมุ่งหวังให้เป็นศูนย์กลางให้บริการสารสนเทศเพื่อการศึกษา มีการแปลหนังสือจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง เพื่อให้สารสนเทศแพร่หลาย และเป็นการพัฒนาประเทศทางอ้อม สื่อสารสนเทศเพื่อการศีกษาจึงมีจำนวนมากและเพิ่มขึ้นมากในแต่ละปี

บทบาทด้านการเมืองการปกครอง
จุมพจน์ วนิชกุล (2549 : 36) ได้กล่าวไว้ว่า สารสนเทศต่างๆ มีบทบาทต่อการส่งเสริมระบอบการเมืองภายในประเทศช่วยให้ประชาชนเกิดความเข้าใจต่อการปกครองของบ้านเมือง หากคนในประเทศสนใจสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการปฏิบัติหน้าที่ของราชการ และมีส่วนช่วยต่อการเข้าใจสภาพปัญหาของบ้านเมือง ประเทศชาติก็จะเกิดการพัฒนาและดำเนินการปกครองไปได้อย่างราบรื่น

บทบาทด้านอุตสาหกรรม
จุมพจน์ วนิชกุล (2549 : 37) ได้กล่าวไว้ว่า ประเทศที่จัดว่าเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ส่วนใหญ่แล้วมีลักษณะการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมเป็นหลักสารสนเทศจึงมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ผู้ประกอบการลงทุนจะต้องศึกษาถึงสารสนเทศต่างๆ อย่างลึกซึ้งก่อนที่จะประกอบการอุตสาหกรรม รัฐบาลจำเป็นต้องหาวิธีการสนับสนุนให้นักธุรกิจได้สารสนเทศเพื่อประกอบอุตสาหกรรมให้นักลงทุนได้ทราบ ยิ่งอุตสาหกรรมได้รับการพัฒนาให้ลงทุนมาก ยิ่งต้องมีความจำเป็นต้องเผยแพร่สารสนเทศนั้นๆ ให้มาก ตามลำดับ

บทบาทด้านวัฒนธรรม
จุมพจน์ วนิชกุล (2549 : 38) ได้กล่าวไว้ว่า สารสนเทศที่มีอยู่กระจัดกระจายจำนวนมาก มีบทบาทเกี่ยวเนื่องกับสภาพสังคมและวัฒนธรรมตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน สภาพของสารสนเทศในรูปของ เอกสาร วารสาร ตลอดจนโสตทัศนวัสดุต่างๆ มีการจัดเก็บและให้บริการในห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศอยู่แล้ว สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม มีส่วนสำคัญในการรักษาเอกลักษณ์ของชาติ ทำให้คนในชาติได้ตระหนักในศักดิ์ศรีความเป็นชาติของตน ยังผลให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ และทำให้ประเทศชาติมีความมั่นคง วัฒนธรรมมีส่วนช่วยในการพัฒนาจิตใจของประชาชนมีส่วนเกื้อกูลในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ประชาชนในสังคมและประเทศชาติมีความร่มเย็นเป็นสุข
จากบทบาทดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า สารสนเทศมีบทบาทในด้านต่างๆ ถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในทุก ๆ ด้าน และสารสนเทศเผยแพร่อย่างรวดเร็วทำให้สารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตและเกิดความสามัคคีในหมู่คณะทำให้ประเทศชาติมีความมั่นคง

ประเภทของสารสนเทศศาสตร์

จุมพจน์ วนิชกุล (2549 : 45 – 49) ได้กล่าวไว้ว่า สารสนเทศที่มีการใช้ประโยชน์ สามารถแบ่งออกตามแหล่งสารสนเทศ คือ การรวบรวมหรือจัดทำ ได้ 3 ประเภท คือ
สารสนเทศปฐมภูมิ (primary source) คือ สารสนเทศที่ได้จากต้นแหล่งโดยตรง เป็นสารสนเทศ ทางวิชาการในลักษณะการเผยแพร่ผลการศึกษา ค้นคว้า วิจัย การค้นพบ เป็นต้น อาจเผยแพร่ในรูปแบบวารสาร รายงานการวิจัย รายงานการประชุม หรือในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
สารสนเทศทุติยภูมิ (secondary source) คือ สารสนเทศที่ได้จากการรวบรวม และเรียบเรียงขึ้นใหม่ จากสารสนเทศที่มีการเผยแพร่มาก่อนแล้วของสารสนเทศปฐมภูมิ เช่น การรวบรวม สรุป ย่อเรื่อง ดรรชนีและสาระสังเขป สื่ออ้างอิง หนังสือ ตำรา เป็นต้น
สารสนเทศตติยภูมิ (tertiary source) คือสารสนเทศที่จัดทำในลักษณะที่รวบรวมขึ้น เพื่อใช้ค้นหาสารสนเทศปฐมภูมิและทุติยภูมิ ซึ่งไม่ใช่เนื้อหาสาระเกี่ยวกับความรู้ โดยตรง เช่น บรรณานุกรม นามานุกรม บรรณนิทัศน์ เป็นต้น

สรุป
สารสนเทศเป็นวิชาความรู้เรื่องราว ข่าวสาร ข้อมูล ความคิด ความรู้ ประสบการณ์ของมนุษย์ที่มีการบันทึกรวบรวม ประมวล และเผยแพร่โดยการใช้ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาพ สัญลักษณ์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้และเข้าใจได้ เพื่อใช้ประโยชน์ทั้งส่วนบุคคลและสังคม สารสนเทศสามารถจักแบ่งประเภทตามแหล่งที่มาของสารสนเทศและสื่อที่ใช้บันทึกสารสนเทศ สารสนเทศที่ดีมีคุณลักษณะสำคัญหลายประการและมีความสำคัญต่อบุคคล องค์การ การศึกษา สังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการปกครอง สารสนเทศศาสตร์มีพัฒนาการแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เนื้อหาวิชาเกี่ยวกับพัฒนาการของการจัดเก็บและการค้นคืนสารสนเทศ และการจัดบริการแก่ผู้ใช้ โดยเฉพาะใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารเป็นส่วนสำคัญของศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์มีความเกี่ยวข้องกับศาสตร์อื่น ๆ ได้แก่ บรรณารักษศาสตร์ คอมพิวเตอร์ การสื่อสาร ภาษาศาสตร์ คณิตศาสตร์ การบริหาร และจิตวิทยา

บรรณารักษ์

บรรณารักษ์ (อังกฤษlibrarian) คือ บุคคลที่มีความเป็นมืออาชีพในการจัดการข้อมูลในด้านบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ โดยส่วนใหญ่แล้วบรรณารักษ์มักจะทำงานในห้องสมุดสาธารณะ ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดมหาวิทยาลัย หรือแม้กระทั่งห้องสมุดในบริษัทต่างๆ รวมไปถึงโรงพยาบาล บรรณารักษ์มีหน้าที่ช่วยให้ผู้ที่มาใช้บริการทราบข้อเท็จจริง จัดหาสารสนเทศและค้นทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ ทั้งหนังสือ วารสาร เว็บไซต์และสารสนเทศอื่น ๆ พิจารณาหนังสือ นิตยสารภาพยนตร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยการจัดซื้อ จัดการหนังสือและทรัพยากรอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการ

จรรยาบรรณของบรรณารักษ์

การทำงานด้านบริการสารนิเทศ ผู้ให้บริการจะต้องมีคุณสมบัติที่แตกต่างออกไปจากบรรณารักษ์ด้านอื่น ๆ ดังนั้นสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยจึงได้กำหนดจรรยาบรรณของบรรณารักษ์ไว้ดังนี้ (สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย
ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จรรยาบรรณารักษ์. 2542 : 2)

หมวดที่ 1 จรรยาบรรณต่อผู้ใช้
1.ให้คำนึงถึงความสะดวกสบายของผู้ใช้ก่อนสิ่งอื่นใด
2. ให้ใช้วิชาชีพที่ได้ศึกษามาให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้อย่างเต็มความสามารถ
3. ให้ความเสมอภาคแก่ผู้ใช้โดยไม่คำนึง ฐานะ เชื้อชาติ ศาสนา สังคมและลัทธิการเมือง

หมวดที่ 2 จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
1. ไม่ประพฤติหรือกระทำผิดใด ๆ อันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในวิชาชีพแห่งตน
2. ต้องศึกษาและแสวงหาความรู้ เพื่อให้ตนมีวุฒิเข้าขั้นมาตรฐาน ที่สถาบันวิชาชีพกำหนดไว้ และหมั่นเพียรฝึกฝนทักษะ
     ตลอดจนหาวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงาน
3. ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อส่งเสริมเกียรติคุณของวิชาชีพผู้ร่วมอาชีพและเพื่อพัฒนาวิชาชีพ
4. ไม่ฝักใฝ่ในการเพิ่มพูนฐานะทางเศรษฐกิจส่วนตน จนเป็นการบั่นทอนการปฏิบัติงานในหน้าที่รับผิดชอบ

หมวดที่ 3 จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน
1. ให้ความยกย่องและนับถือผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพทุกระดับที่มีความรู้ ความสามารถและความประพฤติดี
2. ให้ความเคารพและยอมรับในข้อตกลงที่เป็นมติของที่ประชุม
3. รักษาและแสวงหามิตรภาพระหว่างผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพ
4. ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาจะต้องยึดมั่นในคุณธรรมในการปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่มีอคติในการแต่งตั้ง
     การพิจารณาความดีความชอบและการลงโทษ

หมวดที่ 4 จรรยาบรรณต่อสถาบัน
1. รักษาประโยชน์และชื่อเสียงของสถาบัน และไม่กระทำการอันใด ที่จะเป็นทางทำให้เกิดความเสื่อมเสีย
2. ร่วมมือและปฏิบัติด้วยดีตามนโยบายที่ผู้บังคับบัญชาได้รับมา เพื่อความก้าวหน้าของสถาบันโดยรวม
3. ไม่พึงใช้ชื่อและทรัพยากรของสถาบันเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือหมู่คณะโดยมิชอบ

หมวดที่ 5 จรรยาบรรณต่อสังคม
1. บรรณารักษ์ควรเป็นผู้นำที่เข้มแข็ง เพื่อแสดงให้เห็นถึงบทบาทภาระหน้าที่ที่มีต่อการพัฒนาท้องถิ่น และการพัฒนาประเทศ
2. พร้อมที่จะอุทิศตนเพื่อประโยชน์ของชุมชน ด้วยการใช้วิชาชีพโดยสุจริตและไม่เป็นการเสียหายต่อภาระหน้าที่ที่ปฏิบัติอยู่
3. ควรพยายามป้องกันมิให้กิจกรรมใดๆ ที่เป็นภัยต่อสังคมแฝงไปในการดำเนินงานห้องสมุด



ปรัชญาวิชาชีพบรรณารักษ์

หมายถึงแนวความคิดหรือแนวทางความเชื่อเกี่ยวกับแนวปฏิบัติในวิชาชีพบรรณารักษ์ หรือหลักสำหรับยึดถือเป็นแนวในการปฏิบัติ ซึ่งรังกานาธาน บรรณารักษ์ชาวอินเดียได้สรุปแนวปฏิบัติไว้  5 ประการดังนี้

1.  หนังสือมีไว้ใช้ประโยชน์ (Books are for use) หนังสือทุกเล่มในห้องสมุดจะให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้
     ความคิด ความจรรโลงใจ หรือความบันเทิง

2. ผู้อ่านแต่ละคนมีหนังสือที่ตนจะอ่าน (Every reader his book) ห้องสมุดจะต้องพยายามจัดหาหนังสือ
     ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการ
3.  หนังสือทุกเล่มมีผู้อ่าน (Every books its reader) ห้องสมุดจะต้องพยายามช่วยให้หนังสือทุกเล่มในห้องสมุด
     ได้มีผู้อ่านเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
4. ประหยัดเวลาของผู้อ่าน (Save the time of the reader) พยายามหาวิธีการต่าง ๆที่จะช่วยให้ผู้ใช้พบกับ
     หนังสือเล่มที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
5. ห้องสมุดเป็นสิ่งเจริญเติบโตได้ (Library is growing organism) หรือห้องสมุดเป็นสิ่งมีชีวิต ห้องสมุด
     จะต้องพยายามจัดหาหนังสือและวัสดุเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ

บทบาทและหน้าที่ของบรรณารักษ์

1. Public service librarians
บรรณารักษ์ที่ให้บริการทั่วไปในห้องสมุด เช่น บรรณารักษ์บริเวณจุดยืม คืน
บรรณารักษ์ที่คอยจัดเก็บหนังสือ สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่ให้บริการโดยทั่วๆ ไปของห้องสมุด


2. Reference or research librarians

บรรณารักษ์ที่ช่วยการค้นคว้าและอ้างอิง บรรณารักษ์กลุ่มนี้จะคอยนั่งในจุดบริการสอบถามข้อมูลต่างๆ
รวมถึงช่วยในการสืบค้นข้อมูล และรวบรวมบรรณานุกรม
ให้กับผู้ที่ต้องการทำงานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ หรือศึกษาข้อมูลที่ตนเองสนใจ
สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่ให้คำปรึกษาในเรื่องการสืบค้น และสอบถามข้อมูล


3. Technical service librarians

บรรณารักษ์ที่ให้บริการด้านเทคนิค จริงๆ แล้วผมอยากจะเรียกว่า ?บรรณารักษ์เบื้องหลัง?
เนื่องจากบรรณารักษ์กลุ่มนี้จะทำงานด้านเทคนิดอย่างเดียว
เช่น การจัดหมวดหมู่หนังสือ (Catalog) หรือให้หัวเรื่องหนังสือเล่มต่างๆ
นอกจากนี้ยังรวมถึงการซ่อมแซมหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศที่ชำรุดด้วย
สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ด้านงานเทคนิค


4. Collections development librarians

บรรณารักษ์ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ หรือเราเรียกง่ายๆ ว่าบรรณารักษ์ฝ่ายจัดหา
มีหน้าที่คัดสรรทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ที่น่าสนใจและตรงกับนโยบายของห้องสมุดเข้าห้องสมุด
บรรณารักษ์กลุ่มนี้จะรู้จักหนังสือใหม่ๆ มากมาย รวมไปถึงการขอรับบริจาคทรัพยากรสารสนเทศจากที่อื่นด้วย
สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่นำหนังสือเข้าห้องสมุด


5. Archivists

นักจดหมายเหตุ เป็นบรรณารักษ์เฉพาะทางมีความรู้ และเข้าใจในเหตุการณ์และเอกสารฉบับเก่าแก่
และเน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศที่หายากของท้องถิ่นนั้นๆ หรือชุมชนนั้นๆ เป็นหลัก
สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่คุมเรื่องเอกสารหายากและเก่าแก่


6. Systems Librarians

บรรณารักษ์ผู้ดูแลระบบ บรรณารักษ์กลุ่มนี้มีหน้าที่ดูแลระบบห้องสมุด
ไม่ว่าจะเป็นฐานข้อมูลห้องสมุด ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ หรือระบบควบคุมสมาชิก
บรรณารักษ์กลุ่มนี้จะดูแลเรื่องเครื่องมือไฮเทคของห้องสมุด สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ไอที
7. Electronic Resources Librarians
บรรณารักษ์ที่ควบคุมเอกสารอิเล็กทรอนิกส์จะคล้ายๆ กับบรรณารักษ์ผู้ดูแลระบบ
แต่จะยุ่งกับเรื่องสารสนเทศอย่างเดียว ไม่ยุ่งกับโปรแกรม
สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่ดูแลข้อมูลในเว็บ หรือในฐานข้อมูล


8. School Librarians, Teacher

บรรณารักษ์ด้านการศึกษา อันนี้แบ่งได้เยอะแยะ
เช่น อาจารย์ด้านบรรณารักษ์ นักวิจัยบรรณารักษ์ ฯลฯ
สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่อยู่สายวิชาการ

บรรณารักษ์ยุคใหม่
1. Ask Questions (ตั้งค าถาม)
- ในขณะที่ถูกสัมภาษณ์งานบรรณารักษ์ อย่าให้คนสัมภาษณ์ถามเราอย่างเดียว 
บรรณารักษ์ยุคใหม่ควรจะต้องรู้เรื่องของห้องสมุดนั้นๆ ด้วย เช่น ถามค าถามว่าตอนนี้
ห้องสมุดมีโครงการไอทีมากน้อยเพียงใด และมีแผนนโยบายของห้องสมุดเป็นอย่างไร
2. Pay attention (เอาใจใส่)
-แล้วก็เวลาสัมภาษณ์งานบรรณารักษ์ ก็ขอให้มีความเอาใจใส่และสนใจกับค าถาม ที่
คนสัมภาษณ์ถามด้วย ไม่ใช่ยิงค าถามอย่างเดียว ในการเอาใจใส่นี้อาจจะแทรกความ
คิดเห็นของเราลงไปในค าถามด้วย
3. Read far and wide (อ่านให้เยอะและอ่านให้กว้าง)
-แน่นอนครับ บรรณารักษ์เราต้องรู้จักศาสตร์ต่างๆ รอบตัวให้ได้มากที่สุด
4. Understand copyright (เข้าใจเรื่อง
ลิขสิทธิ์)
- เรื่องลิขสิทธิ์ถึงแม้ว่าตัวเรื่องจริงๆ จะเกี่ยวกับกฎหมาย แต่มันมีความเกี่ยวข้องกับ
ห้องสมุดโดยตรงในเรื่องของการเผยแพร่สารสนเทศต่างๆ
5. Use the 2.0 tools (ใช้เครื่องมือ 2.0)
- ตรงๆ เลยก็คือการน าเอา web 2.0 มาประยุกต์ใช้กับการให้บริหารในห้องสมุด 
หรือบางคนอาจจะเคยได้ยินเรื่อง library 2.0ก็ว่างั้นแหละ ตัวอย่างของการเอาเครื่องมือ
ด้าน 2.0ลองอ่านจากบทความ “10วิธีที่ห้องสมุดน า RSS ไปใช้“
6. Work and Play (ท างานกับเล่น)
-อธิบายง่ายๆ ว่าการท างานอย่างมีความสุข บรรณารักษ์ยุคใหม่อย่างน้อยต้องรู้จักการ
ประยุกต์การท างานให้ ผู้ท างานด้วยรู้สึกสนุกสนานกับงานไปด้วย  เช่น     อาจจะม
การแข่งขันในการให้บริการกัน หรือประกวด
อะไรกันภายในห้องสมุดก็ได้
7. Manage yourself (จัดการชีวิตตัวเอง)
- บางคนอาจจะบอกว่าท าไมบรรณารักษ์ต้องท าโน้นท านี่ “ฉันไม่มีเวลาหรอก” จริงๆ แล้ว
ไม่ใช่ว่าไม่มีเวลา แต่เพราะว่าไม่จัดการระเบียบชีวิตของตัวเอง ดังนั้นพอมีงานจุกจิก
มาก็มักจะบอกว่าไม่มีเวลา ดังนั้นบรรณารักษ์ยุคใหม่นอกจากต้องจัดการห้องสมุดแล้ว การ
จัดการตัวเองก็ถือว่าเป็นสิ่งส าคัญเช่นกัน
8. Avoid technolust (ปรับตัวให้เข้ากับ
เทคโนโลยี)
- ห้ามอ้างว่าไม่รู้จักเทคโนโลยีโน้น หรือเทคโนโลยีนี้ บรรณารักษ์ยุคใหม่ต้องหัดใช้เทคโนโลยีให้ได้เบื้องต้น (เป็นอย่างน้อย)
9. Listen to the seasoned librarians (รับฟังความคิดเห็นของบรรณารักษ์ด้วยกัน)
-อย่างน้อยการรับฟังแบบง่ายๆ ก็คือ คุยกับเพื่อนร่วมงานดูว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ใน
การบริการ บรรณารักษ์ต้องช่วยเหลือกัน อย่างต่อมานั่นก็คือ การอ่านบล็อกของ
บรรณารักษ์ด้วยกันบ้าง บางทีไม่ต้องเชื่อทั้งหมด แต่ขอให้ได้ฟังความคิดเห็นกันบ้าง
10. Remember the Big Picture (จดจ าภาพ
ใหญ่)
- ภาพใหญ่ในที่นี้ ไม่ใช้รูปภาพแต่เป็นมุมมองของความเป็นบรรณารักษ์ อุดมการณ์





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น